น่ารักน่าlove

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน
ให้นักศึกษาอ่านคำถามและนำคำตอบของแต่ละข้อไปโพสต์ใส่เว็บบล็อกของตนเอง
1.การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญอย่างไร

เทคโนโลยีเหล่านี้ยังถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรในอนาคต ดังจะเห็นได้จากเดฟ อุลริช ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระบุว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันธุรกิจในอนาคต เช่นเดียวกันกับ คัมมิ่ง และเวอร์รี่ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลงได้จัดให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

2.ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างไรและเกิดผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง

การนำ ICT เข้ามาเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมในการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการหลายอย่างประกอบกัน เช่น ทฤษฎีทางจิตวิทยา หลักการออกแบบสื่อ การบริหารจัดการข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้สอนและผู้เรียน เป็นต้น มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ทำให้ช่องว่างแห่งการเรียนรู้ลดลงบ้าง


3.นักศึกษาคิดว่าซอฟท์แวร์มีความเกี่ยวข้องกับกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร

ซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญคือระบบปฏิบัติการ (Operation System) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องหรือฮาร์ดแวร์ งานหลักของระบบปฏิบัติการคือการจัดการดูแลแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ การจัดการหน่วยความจำ จัดการการนำโปรแกรมของผู้ใช้เข้าทำงานและควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นแบ่งเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) คือซอฟต์แวร์ที่จัดทำขึ้นเสร็จเรียบร้อยสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ซึ่งปกติเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานประจำ หรือเป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้สร้างงานอื่น ๆ เช่นซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word Processing) เสปรดชีต (Spreadsheet) และระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่สนใจ...ประเทศออสเตรเลีย


ภูมิอากาศและที่ตั้ง
ออสเตรเลียตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ลักษณะประเทศเป็นเกาะ ออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประมุข
พื้นที่ของเกาะมีประมาณ 7.6 ล้านตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลที่งดงาม ชายหาดขาวสะอาด มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นธรรมชาติที่สุดแห่งหนึ่ง พื้นที่ของประเทศมีทั้งแห้งแล้งและอุดมสมบูรณ์ ประมาณหนึ่งในสามเป็นทะเลทราย แต่พื้นที่แถบชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออสเตรเลียตะวันตก และรัฐทัสเมเนียมีความอุดมสมบูรณ์มาก ฝนตกชุก ที่นี่มีสัตว์และพืชรวมทั้งดอกไม้ป่าหลายชนิดที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในดินแดนอื่น เช่น จิงโจ้ โคอะล่า วอมแบต ดิงโก้ พอสซั่ม ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด
ประชากร
ปัจจุบันออสเตรเลียมีประชากร 19 ล้านคน อาศัยอยู่หนาแน่นแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วยคนจากหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรมกว่า 140 ประเทศที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตลอด 50 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสังคมแบบสหวัฒนธรรม
สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียแตกต่างกันในแต่ละรัฐ สภาพอากาศทั่วไป จะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดที่ทัสมาเนียประมาณ 0-12 องศาเซลเซียส และร้อนสุดที่มณฑลตอนเหนือประมาณ 33-34 องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน-พฤศจิกายน อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม
ฤดูร้อน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า
ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม-พฤษภาคม อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมืองในเขตป่า ฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม
ฤดูหนาว มิถุนายน-สิงหาคม อากาศเย็นจัดมีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป
เวลา
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้าง จึงมีความแตกต่างของเวลาตามมาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time, GMT) โดยจัดแบ่งออกเป็น 3 โซน ดังนี้
Eastern Standard Time-EST เร็วกว่าเวลา GMT 10 ชั่วโมงและเร็วกว่าประเทศไทย 3 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ New South Wales, Victoria, Tasmania, Queensland และ Canberra
Central Standard Time-CST เร็วกว่าเวลา GMT 9.5 ชั่วโมงและเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมงครึ่ง ใช้ในรัฐ South Australia และเขตปกครอง Northern Territory
Western Standard Time-WST เร็วกว่าเวลา GMT 8 ชั่งโมงและเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ Western Australia
Daylight Saving - ในช่วงฤดูร้อน ประเทศออสเตรเลียจะมีเวลาในช่วงกลางวันยาวนานกว่าในช่วงกลางคืน ดังนั้น ในรัฐ Victoria, New South Wales, South Australia และ Tasmania จึงมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากเดิมอีก 1 ชั่วโมง ในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงมีนาคม
รัฐและเมืองต่างๆ
ออสเตรเลียประกอบด้วยรัฐใหญ่ 6 รัฐ และเขตปกครองตนเอง 2 มณฑล
Australian Capital Territory มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย แคนเบอร์ร่า (Canberra) คือเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง ลักษณะตัวเมืองทันสมัย เพราะมีการวางผังเมืองอย่างดีเยี่ยม เป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ และหน่วยงานสถานทูตของประเทศต่างๆ รวมทั้งสถานทูตไทย
New South Wales นิวเซาท์เวลส์ เมืองหลวงชื่อซิดนีย์ (Sydney) รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด มีชาวไทยและนักศึกษาไทยมากที่สุดด้วย เป็นรัฐที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก มีสีสัน มีชีวิตชีวา สัญลักษณ์ของเมืองคือโอเปร่าเฮาส์ (Opera House) และสะพานข้ามอ่าวซิดนีย์ (Sydney Harbour Bridge)
Northern Territory มณฑลตอนเหนือ มีเมืองดาร์วิน (Darwin) เป็นเมืองหลวง เนื้อที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
Queensland ควีนส์แลนด์ เป็นรัฐใหญ่อันดับสอง มีเมืองหลวงคือบริสเบน (Brisbane) รัฐนี้ได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่มีแสงแดด (Sunshine State) มีแนวประการังที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกชื่อ Great Barrier Reefs มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์
South Australia เซาท์ออสเตรเลีย เมืองหลวงชื่อ อะดิเลด (Adelaide) ครั้งหนึ่งเมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งเทศกาล" เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
Tasmania ทัสมาเนีย เมืองหลวงคือโฮบาร์ต (Hobart) ทัสมาเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ลักษณะเป็นเกาะ ตั้งอยู่ห่างจากรัฐวิคตอเรียแผ่นดินใหญ่ประมาณ 240 กิโลเมตร มีอากาศหนาวที่สุด สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขาและที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง จนได้รับการขนานนามว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของออสเตรเลีย เป็นเมืองสงบ ค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนถูก เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยทัสมาเนีย (University of Tasmania)
Western Australia เวสเทอร์นออสเตรเลีย เมืองหลวงคือเพิร์ธ (Perth) เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด อุดมสมบูรณ์ด้วยเหมืองแร่ และแร่ทองคำ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 12,500 กิโลเมตร อาชีพสำคัญของประชากรคือการทำประมงและทำเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มากเป็นอันดับสามของโลก เพิร์ธเป็นเมืองที่สะอาด สวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ใช้เวลาเดินทางแค่ 6 ชั่วโมงครึ่ง มีเวลาต่างกับประเทศไทยเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
Victoria วิคตอเรีย รัฐนี้ได้ชื่อว่า Garden State เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น เมืองหลวงคือเมลเบิร์น เป็นเมืองเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองและ เป็นเมืองที่นักศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสอง
การปกครอง
รัฐบาลสหพันธรัฐรับผิดชอบกิจการระดับประเทศ เช่นการป้องกันประเทศ การต่างประเทศ ส่วนรัฐบาลในระดับรัฐ ดูแลด้านการศึกษาการคมนาคม ขนส่ง การบริหารสาธารณสุข การเกษตร การรักษากฎหมายภายในรัฐของตน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น ดูแลสาธารณูปโภค การระบายน้ำ การขจัดของเสีย สวนสาธารณะ ห้องสมุดประชาชน

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำอธิบายรายวิชา ::::: ศึกษาและปฏิบัติ พื้นฐานเทคโนโลยีสาสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์แวร์ และ ซอฟต์แวร์ รูปแบบของข้อมูล อุปกรณ์รับส่งข้อมูล การจัดเก็บและดูแลข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ใช้งาน โปรแกมประมวลผลคำ โปรแกรมกระดาษทำการ โปรแกรมนำเสนองานระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ...

เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทความ: เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในโลกปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าการแข่งขันทางด้านคุณภาพและนวัตกรรมของสินค้าและการให้บริการเข้ามามีความสำคัญมากกว่าการแข่งขันทางด้านขนาดองค์กรหรือต้นทุนสินค้า ในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology (IT) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อเพิ่มความรวดเร็วของกระบวนงานดั้งเดิมเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานยัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพการทำงานไม่เพียงแต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เท่านั้น องค์กรต้องมีการ reengineering กระบวนงานที่เก่าและล้าสมัยด้วย ความคิดเกี่ยวกับ Business Process Reengineering (BPR) จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญคือการวิเคราะห์และ redesign กระบวนงานและกฏระเบียบเก่า ๆ ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างกระบวนการนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการคำนึงถึงกระบวนงานในภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก แทนที่จะเป็นการมองไปที่กระบวนของของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยมีหลักสำคัญดังนี้ 1. เน้นที่ผลลัพธ์ การทำReengineeringให้ความสนใจที่เป้าหมาย (objective- or outcome-oriented) มากกว่าตัวงาน (tasks) ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีทีมงานเพียงหนึ่งทีมทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนงานหนึ่ง ๆ เพื่อลด time-overhead ที่บุคคลต้องติดต่อหรือถ่ายทอดงานกันและเพิ่มประสิทธิภาพของงานเนื่องจากมีผู้ที่รู้กระบวนงานและสถานะทั้งหมดในภาพรวม 2. หน่วยงานเบ็ดเสร็จ คือแนวความคิดที่ให้ผู้ที่ต้องการผลของกระบวนงานเป็นผู้ดำเนินกระบวนงานนั้นเอง นั่นคือ หน่วยงานสามารถมีบทบาทและหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งบทบาท 3. รวมข้อมูล คือการผนวกรวมการผลิตและการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเดียวกัน 4. กระจายทรัพยากร ทรัพยากรขององค์กรควรมีการกระจายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสะดวกในการใช้งานแต่ต้องสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียวซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจายเหล่านั้น เช่นข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น 5. ทำงานอย่างคู่ขนาน คือแนวความคิดให้องค์กรทำการเชื่อมโยงกิจกรรมที่ทำอย่างคู่ขนานกันในขณะที่มันกำลังดำเนินการอยู่แทนที่จะทำเป็นลำดับ 6. ลดลำดับการสั่งการ คือการทำระดับการบริหารให้แบนเรียบขึ้นและให้อำนาจการตัดสินใจในจุดที่เกิดกระบวนการทำงานขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจในงานที่เขาทำได้ด้วยตนเอง 7. ดึงข้อมูลจากแหล่งต้นทาง เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลจึงควรถูกรวบรวมแค่ครั้งเดียวและจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง แล้วค่อย share ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ BPR ไม่ใช่งานที่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องทำข้ามกระบวนงานซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานในองค์กร ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้การควบคุมและตัดสินใจครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรด้วย จะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและBPRมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงควรพิจารณาในด้านที่ช่วยสนับสนุนการ redesign กระบวนงานทางธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลโดยการเก็บในระบบฐานข้อมูลซึ่งให้แผนก-ส่วนต่างๆในองค์กรเข้าถึงได้จากที่เดียวและในขณะเดียวกันการมองกระบวนการทางธุรกิจก็ควรพิจารณาในด้านความสามารถที่ระบบเทคโนโลยี